| เช็คสถานะสินค้า | รถเข็น(0)
| สมัครสมาชิกผู้ซื้อ
| แจ้งปัญหาการใช้งาน
เข้าสู่ระบบ



  • เปิดร้าน 24 ส.ค. 2555
  • ปรับปรุง 3 ก.ย. 2562
  • ผู้ชมทั้งหมด 2,676,605
  • สินค้าทั้งหมด 727




การตรวจวัดแอลกอฮอล์

   การศึกษาวิธีที่จะวัดระดับแอลกอฮอล์ในร่างกายมีมากว่า 150 ปีแล้ว ผู้ที่ศึกษาเป็นคนแรกคือ Francis Edmund Anstie (ค.ศ. 1833 - ค.ศ. 1874) ชาวอังกฤษ พบว่า แอลกอฮอล์ที่ดื่มเข้าไป จะสามารถพบบางส่วนได้ในลมหายใจ และปัสสาวะ นักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ชื่อ Nielous (ค.ศ. 1848 - ค.ศ. 1910) ศึกษาพบว่า แอลกอฮอล์ที่ดื่มเข้าไป จะพบในลมหายใจ ปัสสาวะ น้ำลาย และเหงื่อ หลังจากนั้นได้มีนักวิทยาศาสตร์ทำการศึกษาวิจัยอีกหลายท่าน

        ในระยะแรกการวิเคราะห์หาปริมาณแอลกอฮอล์ใช้วิธีเก็บตัวอย่าง จากเลือด หรือ ปัสสาวะจากผู้ต้องสงสัย แต่มีปัญหาคือ ต้องวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการและต้องใช้ผู้ที่มีความชำนาญ ทราบผลช้า และที่สำคัญคือ ไม่สามารถสื่อไปถึงปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดได้อย่างแท้จริง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำในร่างกาย ฉะนั้น ได้มีการนำวิธีการวิเคราะห์ปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดจากลมหายใจมาใช้ ในช่วงปี 1930-1953 ได้มีการคิดค้นเครื่องวัดแอลกอฮอล์ในเลือดโดยวิธีเป่าลมหายใจขึ้น และได้มีการพัฒนาเครื่องมือวัดเป็นรุ่น ๆ จนถึงปัจจุบัน การพัฒนาเครื่องวัดนี้ เพื่อออกแบบให้เครื่องสามารถวัดได้เฉพาะแอลกอฮอล์ชนิดที่เป็น Ethyl อย่างเดียว (เครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ที่มนุษย์เราดื่มจะผสมแอลกอฮอล์ชนิด Ethyl) โดยไม่ถูกสอดแทรกโดยสารอื่น เช่น acetone, chloroform, ether, ethyl acetate, methanol เป็นต้น เพื่อที่จะให้การวิเคราะห์ปริมาณลมหายใจใกล้กับปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดมาก ที่สุด


        เครื่องวัดระดับแอลกอฮอล์ในเลือดโดยวิธีเป่าลมหายใจ แบ่งตามลักษณะของเครื่องได้เป็นสองประเภท คือแบบพกพา (Mobile) และแบบประจำที่ (Stationary) ถ้าแบ่งตามวัตถุประสงค์การใช้งาน แบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ เครื่องวัดระดับแอลกอฮอล์ในเลือดโดยวิธีเป่าลมหายใจแบบตรวจคัดกรอง (screening) และเครื่องวัดระดับแอลกอฮอล์ในเลือดโดยวิธีเป่าลมหายใจแบบตรวจยืนยันผล (Evidential)

        โดยที่เครื่องวัดระดับแอลกอฮอล์ในเลือดโดยวิธีเป่าลมหายใจ แบบตรวจคัดกรอง เป็นเครื่องที่ใช้ในการทดสอบปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด โดยวิธีเป่าลมหายใจเข้าเครื่องวัด ผลที่แสดงจะเป็นตัวหนังสือว่าเกิน หรือไม่เกินค่ามาตรฐานที่ตั้งไว้ เช่น แสดงเป็น pass หรือ Fail หรืออาจแสดงเป็นตัวเลขก็ได้

        เครื่องวัดระดับแอลกอฮอล์แบบตรวจยืนยันผล เป็นเครื่องที่ใช้ในการตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด โดยวิธีเป่าลมหายใจเข้าเครื่องวัด ผลที่ได้จะแสดงเป็นตัวเลขว่ามีปริมาณในหน่วย mg/100ml เช่น 50 mg/100ml (แสดงว่า ในเลือด 100 มิลลิลิตรมีปริมาณแอลกอฮอล์อยู่ 50 มิลลิกรัม) เป็นต้น

 

[แก้ไข] การทำงานของเครื่องวัดปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดโดยวิธีเป่าลมหายใจ

        สำหรับการทำงานของเครื่องวัดระดับแอลกอลฮอล์ในเลือดโดยวิธีเป่า ลมหายใจนั้น ในการตรวจจะให้ผู้ตรวจเป่าลมหายใจเข้าเครื่องซึ่งมีตัวตรวจจับแอลกอฮอล์ (Alcohol Detector) ตัวตรวจจับเมื่อได้รับแอลกอฮอล์จากลมหายใจ จะมีการแปรสภาพซึ่งอาจมองเห็นได้ เช่นการเปลี่ยนแปลงสีของสารเคมี หรือวัดได้จากพลังงาน เช่น กระแสไฟฟ้า ความต่างศักย์ การเปลี่ยนแปลงสภาพนี้ จะถูกแปลค่าให้รายงานออกมาที่หน้าปัดของเครื่อง ในของ ปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด (Blood Alcohol Concentration: BAC) ทั้งนี้ โดยอาศัยการคำนวณค่าจาก ค่าความสัมพันธ์ของสัมประสิทธิ์ในการแปลงค่าปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเป็น ปริมาณแอลกอฮอล์ในลมหายใจ

        การที่เครื่องวัดฯ จะวิเคราะห์ปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดจากลมหายใจได้ถูกต้อง ต้องใช้ลมหายใจจากส่วนลึกของปอดที่สัมผัสกับเส้นเลือดฝอยในปอด เพื่อจะให้ได้ค่าปริมาณแอลกอฮอล์ที่ถูกต้อง ผู้ผลิตได้ออกแบบให้เครื่องวัดฯ เมื่อถูกเป่าลมหายใจเข้าเครื่องต่อเนื่องไปได้ระยะหนึ่ง ความแรงในการเป่าจะลดลง สูบไฟฟ้าในเครื่องฯ จะเก็บตัวอย่างลมหายใจประมาณ 1 ซีซี แบบอัตโนมัติ ในกรณีที่เครื่องไม่ได้ออกแบบให้เก็บตัวอย่างลมหายใจแบบอัตโนมัติ การตรวจวัดต้องให้ผู้ถูกตรวจเป่าลมหายใจเข้าเครื่องอย่างต่อเนื่อง และผู้ที่ทำการตรวจวัด จะนับ 1 ถึง 5 ในใจอย่างช้า ๆ เมื่อนับครบแล้ว จึงกดปุ่มรับตัวอย่าง เพื่อให้สูบไฟฟ้าเก็บตัวอย่าง รูปที่ 2 แสดงถึงความสัมพันธ์ของระดับ แอลกอฮอล์ในลมหายใจกับปริมาตรของลมหายใจที่เป่าออกมา จะเห็นว่าเมื่อเป่าลมหายใจเข้าเครื่องวัด ความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ในลมหายใจจะเริ่มต้นที่จุด ๆ หนึ่ง แล้วค่อย ๆ เพิ่มขึ้น และความเข้มข้นจะค่อย ๆ คงที่ในที่สุด


ภาพ:กราฟเลือด.png

[แก้ไข] ทำอย่างไรจึงจะลดโอกาสที่จะถูกตรวจสอบว่ามีปริมาณแอลกอฮอล์ในลมหายใจสูง

        จากที่ได้กล่าวไปในตอนต้นถึงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ซึ่งอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุทางการจราจรได้ง่าย นอกจากจะทำความเสียหายให้แก่ผู้ควบคุมยานพาหนะ แล้วยังทำให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลที่อยู่รอบข้างหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นญาติพี่น้องของผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์เอง คู่กรณี ไม่เว้นแม้แต่ญาติพี่น้องของผู้ที่เป็นคู่กรณี ดังนั้น การป้องกันอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นได้นี้ ทางที่ดีที่สุดคือ ถ้าต้องขับขี่หรือควบคุมยานพาหนะ ก็ควรงดเว้นการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เข้าไป ทั้งนี้จากประสบการณ์ของผู้เขียน พบว่า การดื่มเบียร์เพียงหนึ่งแก้ว (250 มิลลิลิตร) สำหรับบางคนก็อาจทำให้ความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ในเลือดสูงถึง 50mg% ได้ และมักจะมีแนวโน้มว่าอยากดื่มแก้วที่สองและสามมากขึ้นตามลำดับ ดังนั้นการที่ไม่ดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ตั้งแต่แก้วแรก จะเป็นการปฏิบัติตัวที่ดีที่สุด อย่างไรก็ดีสำหรับผู้ขับขี่ยานพาหนะและกลัวว่าจะถูกตรวจว่ามีปริมาณ แอลกอฮอล์ในเลือดเกินเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด ควรจะทำดังนี้


         1. งดการดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์อย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 15 นาที ก่อนการขับขี่หรือควบคุมยานพาหนะ และไม่ควร รับประทานยา หรือใช้สเปรย์ระงับกลิ่นปากก่อนการขับรถเพราะอาจมีผลต่อการตรวจวัดได้


         2. อย่างน้อยใน 5 นาทีที่ก่อนการถูกตรวจวัด ไม่ควรสูบบุหรี่ เนื่องจากกลิ่นบุหรี่จะสะสมในเครื่องวัด ทำให้เครื่องเสียได้ และกลิ่นบุหรี่ยังอาจเป็นที่น่ารังเกียจของผู้ที่จะใช้ต่อไป


        3. หากถูกเรียกเพื่อตรวจวัดลมหายใจ ก่อนท่านจะเป่าลมหายใจเข้าเครื่องวัดปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดจากลมหายใจจะ ต้องแน่ใจว่า หลอดเป่าที่ใช้ต้องเป็นของใหม่ที่ได้ทำให้ปลอดเชื้อ (Sterilization) แล้ว


        ในกรณีที่ถูกตรวจแล้วพบว่า มีปริมาณแอลกอฮอล์ในลมหายใจเกิน 50 mg% หรือเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไม่มากนัก และผู้ที่ถูกตรวจไม่แน่ใจในผลการตรวจวัดฯ หรือคิดว่าตัวเองไม่เมาเหล้าถึงขนาดนั้น ผู้ที่ถูกตรวจมีสิทธิ์ตามกฎหมาย ที่จะร้องขอการตรวจพิสูจน์ได้โดยวิธีการตรวจจากปัสสาวะ และตรวจวัดจากเลือด โดยแจ้งกับเจ้าหน้าที่ที่ทำการตรวจวัด ซึ่งการตรวจวัดนี้จะกระทำภายใต้การกำกับดูแลของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมตาม กฎหมาย

 

[แก้ไข] หลักการทำงานของเครื่องตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์ ในเลือดโดยวิธีการเป่าลมหายใจ

         ให้ผู้ถูกตรวจวัด เป่าลมหายใจเข้าเครื่อง ซึ่งมีตัวตรวจจับ (Detector) แอลกอฮอล์อยู่ ตัวตรวจจับ เมื่อได้รับแอลกอฮอล์จากลมหายใจ จะมีการแปรสภาพซึ่งอาจจะมองเห็นได้ เช่น การแปลงเปลี่ยนสีของสารเคมี หรือวัดได้จากพลังงานเช่น กระแสไฟฟ้าการดูดซับคลื่น การเปลี่ยนแปลงสภาพนี้ จะถูกเปลี่ยนแปลงให้รายงานออกมาที่หน้าปัทม์ของเครื่อง ในรูปของค่าระดับแอลกอฮอล์ในเลือด (Blood Alcohol Concentration:BAC)

         ตัวอย่างตรวจจับแบบต่างที่ใช้ในการวัดแอลกอฮอล์จากลมหายใจ มีด้วยกัน 4 แบบคือ

        1. แบบ Colorimeter ใช้หลักการเปลี่ยนสีของ Potassium Dichromate จากสีเหลือง ถ้าได้รับไอของแอลกอฮอล์ จะเปลี่ยนเป็นสีเขียว

        ความเหมาะสม ใช้ทดสอบแอลกอฮอล์ในลมหายใจ ใช้ได้ครั้งเดียว


        2. แบบ Semiconductor ใช้หลักการไอของแอลกอฮอล์ไปจับ Semi-conductor ทำให้ความต้านทานเปลี่ยนแปลง

        ความเหมาะสม ใช้ทดสอบแอลกอฮอล์ในลมหายใจ แต่ความเที่ยงตรงไม่ดี

        3. แบบ Fuel cell เป็นแบบเซลไฟฟ้าเคมี(Electrochemical Fuel cell) เมื่อไอของ แอลกอฮอล์ถูกดูดซับโดย cell จะทำให้เกิดปฎิกิริยากลายเป็นกรดอะเซติคและเกิดกระแสไฟฟ้าซึ่งเป็นสัดส่วน โดยตรงกับปริมาณแอลกอฮอล์

        ความเหมาะสม มีความถูกต้องดี มีความจำเพาะต่อการวัด Ethyl alcohol เครื่องมี ขนาดเล็กพกพาได้ ราคา 42,600 บาท เมื่อปี2547 (ครม.อนุมัติจัดซื้อ ให้ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน)

        4. แบบ Infrared Absorption อาศัยหลักการที่แสง Infrared จะถูกดูดซับมากน้อยเท่าใดขึ้นกับระดับความเข้มข้นของไอแอลกอฮอล์

        ความเหมาะสม มีความถูกต้องดี มีความจำเพาะต่อการวัด Ethyl alcohol แต่เครื่องมีขนาดใหญ่ราคาสูงเหมาะใช้สำหรับใช้ประจำที่


        Screening Alcohol Meter (SAM-03)

        เครื่องตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์ในเลือดจากลมหายใจแบบพกพา

        เครื่องตรวจวัดแอลกอฮอล์ในลมหายใจแบบพกพาสำหรับการตรวจวัด แบบ Screening ที่มีราคาถูก ใช้ทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ และช่วยลดระยะเวลาการตรวจจับผู้ขับขี่ซึ่งสามารถใช้ตรวจวัดเบื้องต้นโดยที่ ผู้ขับขี่ไม่จำเป็นต้องลงจากยานพาหนะ เครื่องมือดังกล่าวไม่จำเป็นต้องใช้หลอดเป่า และมีความไวสูง (วัดจากลมหายใจโดยตรง) และสะอาด เพื่อประหยัดต้นทุนจากค่าหลอดเป่า (ราคา 20 บาทต่อชิ้น) ทำให้ผู้ทดสอบไม่ต้องใช้เครื่องตรวจวัดแบบเป่าที่มีอยู่ปัจจุบันทุกคน ดังนั้นจึงรวดเร็วและประหยัด

        คุณสมบัติ

  • ใช้ตรวจจับเบื้องต้นก่อนการใช้เครื่องวัดแบบเป่า
  • ราคาถูก ประหยัด
  • รวดเร็ว ไม่ต้องลงจากพาหนะ
  • เล็ก พกพาง่าย
  • Semiconductor มีความไวสูงไม่ต้องออกแรงเป่า
  • ผลิตได้เองในประเทศทั้งหมดโดยเทคโนโลยี microelectronics
ภาพ:12ตร.png

        ตารางแสดงผลของแอลกอฮอล์ในเลือดที่ระดับความเข้มข้นต่างๆ ต่อร่างกายและจิตใจ

ภาพ:ตรเลือด.png

ภาพ:ตร2.png


 



ดู 2057 | เริ่ม 20 ธ.ค. 2555 10:53:41 | IP 49.49.159.1xx