| เช็คสถานะสินค้า | รถเข็น(0)
| สมัครสมาชิกผู้ซื้อ
| แจ้งปัญหาการใช้งาน
เข้าสู่ระบบ



  • เปิดร้าน 24 ส.ค. 2555
  • ปรับปรุง 3 ก.ย. 2562
  • ผู้ชมทั้งหมด 2,676,739
  • สินค้าทั้งหมด 727




หน้ากากอนามัยและวิธีใช้งาน

หน้ากากอนามัยและวิธีใช้งาน article

   
    หน้ากากอนามัย
(Protective Mask) มีด้วยกันหลายชนิด การเลือกใช้อย่างเหมาะสมจะสามารถป้องกันการติดเชื้อทางเดินระบบหายใจและยังสามารถป้องกันอันตรายจากพิษของฝุ่นบางประเภทได้ด้วย สามารถแบ่งออกเป็นประเภทได้แก่

1. แบ่งตามมาตรฐานประเทศในแถบยุโรปตามลักษณะภายนอก

1.1 ชนิดคลุมเต็มใบหน้า (Full Face Mask) ครอบคลุมทั่วทั้งใบหน้า
1.2 ชนิดคลุมครึ่งใบหน้า (Half face Mask) เมื่อสวมใส่แล้วจะครอบคลุมบริเวณ จมูก ปากและคาง
1.3 ชนิดคลุม ¼ ของใบหน้า (Quarter Face Mask) เมื่อสวมใส่แล้วจะครอบคลุมเฉพาะบริเวณ จมูก และปาก


2. แบ่งตามลักษณะการใช้งาน

2.1 หน้ากากป้องกันก๊าซพิษ เช่นหน้ากากคาร์บอนฟิลเตอร์ ความสามารถในการป้องกันก๊าซพิษขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของฟิลเตอร์ ที่นำมาใช้
2.2 หน้ากากป้องกันฝุ่นละออง ผลิตจากเยื่อกระดาษ หรือผ้า อาจมีหรือไม่มีฟิลเตอร์ก็ได้ สำหรับบุคคลที่ประกอบอาชีพที่อยู่ ท่ามกลางฝุ่นเช่นในโรงงานปูน โม่หิน หรือในโรงงานอุตสาหกรรมอิเลคโทรนิคที่ต้องระมัดระวังเรื่องฝุ่นละอองเป็น พิเศษ ไม่ให้น้ำลายจากผู้ปฏิบัติงานกระเด็นปนเปื้อนไปกับชิ้นงาน หรือสำหรับแม่บ้านสวมใส่ขณะทำความสะอาดบ้าน เชื้อโรคที่มีขนาดใหญ่กว่า Pore size นั้นจะถูกกรองไว้ จะมีชนิด N,R,P ซึ่งจะมีหรือไม่มีช่องสำหรับหายใจออก (exhalation valve) ก็ได้ ข้อดีของหน้ากากชนิดนี้คือใช้แล้วทิ้ง ไม่จำเป็นต้องมีอุปกรณ์สำหรับทำความสะอาด ทั้งยังมีน้ำหนักเบาและสวมใส่ง่าย ข้อเสียของฟิลเตอร์ชนิดนี้คือมักจะหายใจลำบากเนื่องจากมีการถ่ายเทของอากาศไม่ดีเพราะ Pore size ขนาดเล็กเป็นตัวปิดกั้นไว้ ทำให้ไม่สามารถสวมใส่เป็นเวลานาน ๆ ได้ หน้ากากชนิดนี้จะกรองเชื้อได้แตกต่างกัน เช่น N-95 สามารถ กรองเชื้อที่มีขนาดอนุภาคใหญ่กว่า 300 นาโนเมตร หรือ 0.3 ไมครอนได้ 95% ซึ่งแบคทีเรียและไวรัสส่วนใหญ่มีขนาดเล็กกว่า 300 นาโนเมตรจึงสามารถ ผ่านเข้าไปได้
2.3 หน้ากากที่ใช้สวมในขณะผ่าตัด (Surgical mask) เป็น หน้ากากที่สวมขณะผ่าตัดเพื่อป้องกันเลือดหรือเสมหะของผู้ป่วยที่อาจ กระเด็นเข้าปากและจมูกของแพทย์ผ่าตัด และป้องกันเสมหะหรือน้ำลายของแพทย์ที่จะไปปนเปื้อนบริเวณที่จะผ่าตัด ไม่ควรนำหน้ากากนี้มาใช้กับคนที่ป่วยเป็นวัณโรคหรือโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ อื่น ๆ เพราะไม่สามารถป้องกันได้
2.4 หน้ากากชนิดเปลี่ยนไส้กรอง เป็น หน้ากากที่สามารถเปลี่ยนไส้กรองอากาศได้ สามารถนำมาใช้ใหม่แต่ต้องหมั่นทำความสะอาด หน้ากากชนิดนี้มีน้ำหนักเบา ใช้ได้สะดวก เนื่องจากทำด้วยยางจึงใช้ได้นาน สามารถเปลี่ยนไส้กรองก็นำมาใช้ใหม่ได้ แต่จะสื่อสารกับ คนอื่นลำบากและไม่สามารถใช้ในห้องผ่าตัด2.5 หน้ากากชนิดที่มีอากาศหายใจ เป็นหน้ากากที่มีมอเตอร์ดูดอากาศจากสิ่งแวดล้อม ผ่านเครื่องกรองอากาศแล้วส่งผ่านไปยังภายในหน้ากาก
2.6 หน้ากากป้องกันการติดเชื้อทางเดินหายใจ (Respiratory Protective Mask) เป็น หน้ากากที่ออกแบบมาให้มีคุณสมบัติในการ ป้องกันการติดเชื้อโรคในระบบทางเดินหายใจ หน้ากากชนิดนี้จะต้องมีฟิลเตอร์หรือระบบกรองเชื้อโรค ซึ่งมีทั้งแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง หรือสามารถซักล้างและนำกลับมาใช้ได้ใหม่ โดยระบบการกรองนั้นจะแตกต่างกันไปตามคุณสมบัติของฟิลเตอร์ เช่น
    ก. ระบบการกรองเชื้อโดยอาศัยช่องว่าง (Pore size) ขนาดเล็กของฟิลเตอร์ในการกรองอนุภาคขนาดเล็ก
    ข. ระบบการกรองด้วย Electrostatic หรือ ระบบไฟฟ้าสถิตย์ ซึ่งเมื่อเร็ว ๆ นี้บริษัทแห่งหนึ่งของประเทศญี่ปุ่นได้พัฒนาขึ้นมา โดยการเคลือบสารไฮดรอกซีอะพาไทต์ลงบนฟิลเตอร์ซึ่งสารชนิดนี้มีคุณสมบัติเป็น Electrostatic สามารถกรองเชื้อไวรัสได้ มากกว่า 98% (98% Viral Filtration Efficiency) ทดสอบโดยห้องปฏิบัติการ Nelson Laboratories ประเทศ สหรัฐอเมริกาซึ่งมีชื่อ เสียงในการทดสอบคุณสมบัติการกรองของฟิลเตอร์ ข้อดีของหน้ากากชนิดนี้คือไม่ทำให้หายใจลำบากเนื่องจากระบบการกรองเป็น Electrostatic ไม่ใช้ Pore size ขนาด เล็กเป็นตัวกรองเชื้อ ผู้สวมใส่จึงหายใจได้สะดวก สามารถสวมใส่ได้เป็นเวลานานโดยไม่ทำให้ อึดอัด ทั้งยังมีน้ำหนักเบา และฟิลเตอร์นี้ยังสามารถนำไปซักล้างได้โดยยังมีคุณสมบัติในการกรองเชื้ออยู่ และแน่ใจได้ว่าสาร         ไฮดรอกซีอะพาไทต์ไม่ก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกาย เนื่องจากสารชนิดนี้เป็นโมเลกุลชนิดเดียวกับโมเลกุลที่เป็นโครงสร้าง ของกระดูก หน้ากากชนิดนี้สามารสวมใส่ได้โดยทั่วไป รวมทั้งในห้องปฏิบัติการโรคติดเชื้อเพื่อป้องกันการติดเชื้อโรคมายังผู้ ปฏิบัติงาน


    เมื่อทราบข้อมูลเบื้องต้นในการเลือกใช้หน้ากากอนามัยกันแล้ว อยากให้ทุกท่านเลือกใช้หน้ากากอนามัยให้เหมาะกับจุดประสงค์ เพราะโรคติดเชื้อนั้นหากเป็นแล้วรักษายาก การป้องกันสามารถทำได้ง่ายกว่า และที่สำคัญการสวมใส่หน้ากากเมื่อท่านป่วยด้วยโรค ทางเดินหายใจก็เป็นการป้องกันการแพร่ระบาดได้เป็นอย่างดี เรามาช่วยรณรงค์ลดการแพร่เชื้อทางเดินหายใจด้วยการสวมใส่ หน้ากากอนามัยเพื่อตนเองและผู้อื่นกันเถอะ

ข้อแนะนำในการใช้หน้ากาก

  • บุคคลทั่วไปที่ไม่ได้เข้าไปใช้บริการในสถานพยาบาลที่มีหรือสงสัยว่ามีอาการเข้าได้กับโรคไข้หวัดใหญ่
  • บุคคลที่มีอาการป่วยเกี่ยวกับโรคทางเดินหายใจทั่วไปหรือสงสัยว่าตนเองจะป่วย 
  • โดยทั่วไปหน้ากากนี้สามารถใช้ได้ 3 วัน แต่ในสถานการณ์ที่มีการระบาดของโรคไข้หวัดมรณะแนะนำให้เปลี่ยนทุกวัน หรือเมื่อมีการชำรุดหรือปนเปื้อน
  • การใส่หน้ากากทั้งคนทั่วไปและคนป่วยจะช่วยลดการแพร่เชื้อโดยเฉพาะในชุมชนที่มีการระบายของอากาศดีจะมีความเข้มของเชื้อน้อย
  • ไม่ใช้หน้ากากร่วมกับผู้อื่น
  • เก็บหน้ากากในถุงผ้าหรือพลาสติกเมื่อไม่ใช้ เช่น เวลารับประทานอาหาร หรือเวลานอน
  • หน้ากากที่ใช้แล้วให้ใส่ถุงทิ้งในถังที่ระบุเป็นวัสดุอันตราย

    เป็นที่ทราบกันเป็นอย่างดีแล้วว่าการติดต่อของไข้หวัดเกิดจากการที่ไอ หรือจามใส่หน้ากัน ทำให้ผู้ที่ได้รับเสมหะติดเชื้อด้วย การป้องกันที่ดีคือคนที่เป็นหวัด และคนที่สัมผัสใกล้ชิดควรจะสวมหน้ากากอนามัยป้องกันการติดต่อ โดยเฉพาะหากมีการระบาด ของไข้หวัดมรณะขึ้นในประเทศไทย คนป่วย คนที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย รวมทั้งผู้ที่มาเยี่ยมก็ควรจะสวมหน้ากากอนามัยทุกคน

 

วิธีสวมหน้าการอนามัย (Surgical Mask)

 

 

 

 

 

  1. ล้างมือก่อนสวมหน้ากากอนามัยทุกชนิด
  2. ปฏิบัติตามคำแนะนำของบริษัทผู้ผลิตอย่างเคร่งครัด
  3. ข้อกำหนดทั่วไปเกี่ยวกับการใช้หน้ากาก 
  • หน้ากากอนามัยควรจะสวมพอดีกับหน้า โดยเฉพาะบริเวณสันจมูก
  • หน้ากากอนามัยจะมีสองสี เอาสีเข้มออกด้านนอก สีจางอยู่ชิดจมูก
  • ด้านที่มีโลหะจะอยู่บนสันจมูก
  • สายรัดหรือยางที่ไว้สำหรับคล้องควรจะผูกให้พอดีและอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม
  • หน้ากากควรจะคลุม จมูก ปาก และคาง
  • ให้กดโลหะที่อยู่บนหน้ากากแนบสนิทกับสันจมูก
  • ให้เปลี่ยนหน้ากากอนามัยทุกวัน
  1. เมื่อจะทิ้งให้นำหน้ากากที่ใช้แล้วใส่ถุง และนำไปทิ้งในถังขยะ
  2. ให้เปลี่ยนหน้ากากทันทีที่ชำรุด ซึ่งสามารถหาซื้อได้ในราคาไม่แพงนักหรืออาจผลิตใช้เอง โดยใช้ผ้าฝ้ายหรือผ้ายืดที่มีการทอตาถี่มากหน่อย
    พับทบกัน
    2-3 ชั้น และถ้าสามารถหาแถบโลหะบาง ๆ ตรึงให้ติดกับตัวหน้ากาก แล้วใช้ผ้าเย็บทับอีกชั้นหนึ่งกันมิให้แถบโลหะบาดหรือสัมผัสกับผิวหนังโดย ตรง
    เพื่อใช้ปรับให้กระชับกับรูปทรงของใบหน้าให้แนบสนิทยิ่งขึ้นก็จะเป็นการดี

 

 

 

 






วิธีสวมหน้ากากอนามัย N95 
 

 


1. ประกบหน้ากากเข้ากับใบหน้า ให้แถบ         อลูมิเนียมอยู่บนสันจมูก และส่วนล่างคลุม     คาง ให้ยืดขยายสายรัดเป็นช่วง ๆ จนทั่วทั้ง     เส้นก่อนใช้งานครั้งแรก

 

 


2. ดึงสายรัดเส้นบนไปด้านหลังศีรษะ
    โดยพาดเฉียงเหนือใบหู

 


 

 

 


3. ดึงสายรัดเส้นล่างไปรัดบริเวณต้นคอ
    จัดสายรัดให้เรียบร้อย

 

 


4. ใช้นิ้วของมือทั้งสองข้างรีดแถบอลูมิเนียม
    ให้แนบกับสันจมูกเพื่อความแนบสนิท

 

 

   

การตรวจสอบความแนบสนิทแบบหายใจออก
สำหรับหน้ากากไม่มีวาล์วระบายอากาศใช้มือทั้งสองข้างโอบรอบหน้ากาก
หายใจออกแรงกว่าปกติเล็กน้อย


  • หากสวมใส่หน้ากากแนบสนิทดีจะไม่่มีอากาศรั่วไหลออกทางขอบหน้ากาก
  • ถ้ามี อากาศรั่วไหลออกทางขอบหน้ากาก ให้รีดแถบอลูมิเนียม ปรับตำแหน่งของหน้ากากใหม่ หรือดึงสายรัดไปด้านหลังมากขึ้น จากนั้นตรวจสอบความแนบสนิทใหม่อีกครั้ง

 

 

สำหรับประเทศที่ได้มีการระบาดของไข้หวัดมรณะได้แนะนำประชาชนดังนี้

  • ให้คาดหน้ากากอนามัยที่ใช้สำหรับห้องผ่าตัดไม่ว่าจะอยู่ในสถานที่ชุมชน โรงเรียน ห้องสมุด บนรถประจำทาง หรือเมื่อมีอาการของหวัด
  • การใส่หน้ากากจะป้องการแพร่เชื้อไข้หวัดมรณะ
  • หน้ากากที่ใช้คือหน้ากากที่ใช้สำหรับห้องผ่าตัด (Surgical mask) ก็เพียงพอ แต่สำหรับคนที่ทำงานในโรงพยาบาลให้ใช้ N95

ถึง แม้ว่าหน้ากากอนามัยจะสามารถป้องกันโรคไข้หวัด แต่สิ่งที่มีความสำคัญพอ ๆ กับการสวมหน้ากากได้แก่การรักษาสุขอนามัยที่ ถูกต้อง เช่น

  • ล้างมือทุกครั้งก่อนรับประทานอาหาร ล้างมือทุกครั้งที่สัมผัสเสมหะหรือสารคัดหลั่งของผู้ป่วย
  • อย่าเอามือขยี้ทาหรือเอาเข้าปาก
  • ไม่ใช้ของใช้ร่วมกัน เช่น ถ้วย ชาม เป็นต้น
  • ทิ้งทิชชู่ หรือผ้าเช็ดหน้าที่เปื้อนน้ำลายหรือเสมหะทันที
  • หมั่นทำความสะอาด บ้าน เครื่องเรือน ตุ๊กตา ราวบันได ลูกบิดประตู
 



ดู 1931 | เริ่ม 10 ธ.ค. 2555 15:29:53 | IP 223.205.185.xx