| เช็คสถานะสินค้า | รถเข็น(0)
| สมัครสมาชิกผู้ซื้อ
| แจ้งปัญหาการใช้งาน
เข้าสู่ระบบ



  • เปิดร้าน 24 ส.ค. 2555
  • ปรับปรุง 3 ก.ย. 2562
  • ผู้ชมทั้งหมด 2,676,663
  • สินค้าทั้งหมด 727




เสียงขนาดไหนที่เราควรหลีกเลี่ยง

เสียงแค่ไหนเรียกว่าดังมากและควรเลี่ยง (ซับเฮด)

หูคนเราไม่ควรรับเสียงดังเกิน 85 เดซิเบล (เสียง 85 เดซิเบล คือเสียงที่ดังจนพูดกันไม่รู้เรื่องในระยะห่าง 1 เมตร) ถ้าท่านทำงานในโรงงานที่เสียงดัง 85 เดซิเบล ท่านไม่ควรทำงานเกิน 8 ชั่วโมง และควรหยุดพักอยู่ในที่เงียบทุกๆ 5 วันทำงาน และควรใช้เครื่องป้องกันเสียง เสียงดังเกิน 90 เดซิเบล ควรหลีกเลี่ยงเป็นอย่างยิ่ง หรือไม่ควรสัมผัสเลย ส่วนเสียงระเบิด เสียงปืน เสียงในสถานบันเทิงเริงรมย์ เสียงเครื่องบินขณะเครื่องออก ดังได้ถึง 120 เดซิเบล หรือมากกว่านั้น คนเราไม่ควรสัมผัสเสียงดัง 120 เดซิเบลโดยเด็ดขาด

เมื่อไรจะรู้ว่าเราฟังเสียงดังเกินไปแล้ว มีวิธีสังเกตจุดบอกอาการคือ รู้สึกหูอื้อ หรือหูมีเสียงดังรบกวน หลังรับเสียง แม้อาจเป็นเพียงชั่วคราว, ใจเต้นแรงขณะรับเสียง, ในระยะ 1 เมตร คุยกันด้วยเสียงดังก็ยังฟังไม่รู้เรื่อง, เริ่มมีประสาทหูเสื่อม ต้องพูดหรือฟังเสียงดังมากกว่าเดิมจึงได้ยิน, อารมณ์แปรปรวน ถ้าเป็นเด็กอาจมีพฤติกรรมก้าวร้าว
อาการที่ทำให้สงสัยว่าแก้วหูทะลุ

หูอื้อและปวดในหูโดยทันทีที่ได้รับแรงกระแทกหรือเสียงดังมาก อาจรู้สึกว่าหูชาไปเลย ก่อนจะรู้สึกปวดหรืออื้อ และเวลาผ่านไป 1 ชั่วโมง ก็ยังไม่หายอื้อ ควรรีบไปพบแพทย์

หูอาจมีเสียงดังวิ้ง หรือ วี้ และได้ยินไม่ชัด ไม่ยอมหายใน 2-3 ชั่วโมง หรือมีอาการเวียนศีรษะบ้านหมุนมึนงง แสดงว่าแรงกระเทือนไปถึงหูชั้นใน อาจมีเยื่อของหูชั้นในฉีกขาดด้วย ต้องรักษาด่วน

บางรายอาจ “มีเลือดออกมาจากช่องหู” บางรายรู้สึกว่า “หูดับ” ไปทันที ควรพบแพทย์ด่วน อาจมีเลือดออกในหูชั้นในก็ได้ อาจทำให้หูตึงถาวรได้

สำหรับกรณีที่ถูกตบบ้องหู หรือ กกหูอย่างรุนแรง นอกจากจะทำให้ใบหูและเยื่อแก้วหูฉีกขาดแล้ว ถ้าแรงตบหรือแรงกระแทกมากพออาจทำให้สะเทือนถึงกะโหลกศีรษะ ทำให้กะโหลกร้าว หรือสะเทือนถึงสมอง ทำให้เกิดอาการ “มึนงง” “เวียนศีรษะบ้านหมุน” “เดินเซ” “ซึมลง ตอบสนองช้า” หรือถึงขึ้น “หมดสติ” ได้ จากเลือดตกในสมอง

เมื่อมีอาการดังกล่าวไม่ว่าจะมากหรือน้อย ควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจให้แน่ชัดว่าเยื่อแก้วหูผิดปกติหรือไม่ จะได้รีบรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ

วิธีรักษา หูอื้อ หูดับ แก้วหูทะลุ  (ซับเฮด)

อาการหูอื้อ หูดับ จาก noise trauma หรือ จาก barotraumas จะหายเองได้หรือไม่นั้น ขึ้นกับผลของเส้นประสาทรับเสียงที่อยู่หลังแก้วหูว่าบาดเจ็บมากน้อยเพียงใด ถ้าเส้นประสาทดังกล่าวไม่ได้รับผลกระทบ โอกาสที่อาการหูอื้อหูดับจะหายได้เองก็เป็นไปได้มาก แต่ถ้าเส้นประสาทรับเสียงได้รับการบาดเจ็บด้วยอาการหูอื้อหูดับอาจดีขึ้นช้า หรือบางรายอาจคงอาการอยู่อีกนาน นอกจากนี้ในบางรายอาจมีภาวะแทรกซ้อนตามมาได้เช่น เวียนศีรษะ บ้านหมุน ได้ยินเสียงวิ้งๆ รำคาญภายในหูเป็นพักๆ หรือตลอดเวลา

กรณีที่ตรวจพบว่าแก้วหูทะลุ ถ้าไม่กระทบกระเทือนไปถึงเส้นประสาทรับเสียงในหูชั้นใน และแก้วหูทะลุโดยไม่มีการติดเชื้อ แก้วหูอาจปิดได้เองในเวลา 1-2 สัปดาห์ หรือถึง 1 เดือน แล้วแต่ว่ารูทะลุเล็กหรือใหญ่แค่ไหน และขาดแบบกระรุ่งกระริ่งหรือเปล่า

มีข้อแนะนำว่า ถ้าได้รับการกระทบกระเทือนจนคิดว่าแก้วหูทะลุ หูอื้อปวด ควรรีบไปพบแพทย์หู ไม่ควรไปซื้อยาหยอดหูมาหยอด เพราะจะทำให้แผลทะลุเปียกชื้นและปิดได้ยาก ถ้าเป็นมากแพทย์อาจตรวจการได้ยิน เพื่อให้รู้ว่ากระทบกระเทือนถึงกระดูกในหูชั้นกลางหรือประสาทรับเสียงหรือ ไม่ แพทย์อาจให้ยากิน แต่ไม่ใช่ยาหยอด

ที่สำคัญคือ การป้องกันไม่ให้แก้วหูบาดเจ็บจากเสียงดัง โดยหลีกเลี่ยงไม่ไปอยู่ในบริเวณที่มีเสียงดังนานจนเกินไป หรือใช้นิ้วมืออุดหู หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันเสียงส่วนบุคคล เช่น สำลีอุดหู แท่งอุดหู (ear plug) ที่ครอบหูป้องกันเสียง (ear muff) กรณีบ้านพักที่เพื่อนบ้านข้างเคียงเป็นสาเหตุของเสียงที่ดังเกินไป ก็ควรขอร้องหรือขอความร่วมมือให้เพื่อนบ้านหรี่เสียงให้อยู่ในระดับที่ไม่ทำ ให้เกิดอันตรายต่อการได้ยินและเกิดเหตุรำคาญเกินสมควร หรือแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ทำการควบคุม และจัดการให้แหล่งกำเนิดเสียงต่างๆ มีระดับเสียงเบาลงจนถึงระดับที่เราสามารถอาศัยอยู่ได้โดยไม่ได้รับอันตราย และรำคาญ

“หูและการได้ยินเป็นสิ่งมีค่า” เป็นอวัยวะละเอียดอ่อน ที่ธรรมชาติให้มาเพื่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถได้ยินเสียงกระซิบบอกรักเบาๆ หรือฟังเสียงนกเล็กๆ ร้องจิ๊บๆ ได้ ไม่ใช่แค่เพียงได้ยินเสียงตะโกนดังๆ ก็พอใจแล้ว

มีคำกล่าวจาก Helen Keller สตรีผู้มีปัญหาทั้งตาบอดและหูหนวก เธอบอกไว้ว่า “ตาบอดแยกเราจากวัตถุ” แต่ “หูไม่ได้ยินแยกเราจากผู้คน” เป็นยังไงล่ะ ถ้าไม่อยากทั้งตาบอด และหูหนวก ก็ระวังตัวกันไว้ ก่อนที่จะสายเกินไปค่ะ

ที่มา: หนังสือพิมพ์คมชัดลึก




ดู 1486 | เริ่ม 13 ต.ค. 2555 21:20:28 | IP 171.4.178.xx